งานพัฒนาระบบผลิตอาหารฮาลาล

แนวคิดการบูรณาการระบบ Codex-Halal เข้ากับระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดควบคุมวิกฤติหรือ HACCP เริ่มขึ้นเมื่อครั้ง รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน เข้าร่วมกับบริษัท การบินไทย จำกัด จัดทำครัวฮาลาลในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ในปี พ.ศ.2541

มาตรฐาน
Halal-GMP/HACCP

มาตรฐาน Halal-GMP/HACCP เกิดขึ้นจากการพัฒนาต่อยอดระบบ Halal-HACCP ในปี พ.ศ.2545 และจัดทำเป็นคู่มือขึ้น 3 เล่มในปี พ.ศ.2548 ได้แก่

ตั้งแต่ปี

พ.ศ.2547 – พ.ศ. 2550

มีโรงงานอุตสาหกรรมอาหารเข้าร่วมทั้งสิ้น 70 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ได้รับเลือกให้เข้าร่วมในปี พ.ศ.2547 มีทั้งสิ้น 20 โรงงาน พ.ศ.2548 มี 17 โรงงาน ปี พ.ศ.2549 มี 23 โรงงาน และปี พ.ศ.2550 มี 10 โรงงาน เป็นโรงงานที่ตั้งอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ เป็นโรงงานที่มีพนักงานรวมกว่า 57,893 คน มีพนักงานระดับบริหารเข้ารับการอบรมมากกว่า 300 คน และพนักงานในโรงงานมากกว่า 3,522 คน

ระบบครัว

Non-Pork Buffered Halal Kitchen (ครัวฮาลาล NPB)

การจัดทำครัวฮาลาลในระบบการฉนวนด้วยสิ่งที่มิใช่ผลิตภัณฑ์จากสุกรเริ่มขึ้นเมื่อครั้งการเตรียมครัวเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 13 ปี พ.ศ.2541 แต่ครั้งนั้นเป็นเพียงแนวคิด จนกระทั่งต้นปี พ.ศ.2549 จึงนำแนวคิดนี้มาใช้ในการจัดเตรียมอาหารฮาลาลที่ครัวการบินไทย สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ เป็นระบบที่เรียกว่า Non-Pork Buffered Halal Kitchen หรือครัวฮาลาล NPB หมายถึงการเตรียมครัวฮาลาลที่ใช้สิ่งที่มิใช่ผลิตภัณฑ์จากสุกรเป็นฉนวนห้อมล้อม ทำให้การเตรียมครัวฮาลาลทำได้ง่ายขึ้น


“กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อน”

ครั้งที่ 24 ณ กรุงเทพมหานคร ระหว่าง วันที่ 1 ถึง 23 สิงหาคม 2550 อาหารบริการ ในครัวใหญ่ที่ศูนย์กีฬา ณ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต) บริการอาหารฮาลาลทั้งครัว ซึ่งวางระบบโดยศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รับรองฮาลาลโดยคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปทุมธานี

Message us