งานคุ้มครองผู้บริโภคมุสลิม

การเป็นที่ปรึกษา/ผู้ตรวจฮาลาล
- เข้าใจกฎหมายอิสลาม (ชารีอะห์) อย่างถ่องแท้
- เข้าใจบทบาทและหน้าที่ของกอฎี
- เข้าใจกระบวนการผลิตของโรงงาน/สถานที่ผลิต
- รู้จักวัตถุดิบ/ผลิตภัณฑ์/บริการ
- รู้จักกระบวนการตรวจสอบ/ทวนสอบ
การเป็นที่ปรึกษา/ผู้ตรวจฮาลาล
- ต้องเป็นไปตามอำนาจที่มีตามกฎหมาย
- เลือกกำหนดเฉพาะสิ่งที่สามารถตรวจสอบได้ หากตรวจสอบไม่ได้อาจใช้วิธีอนุโลมและติดตามตรวจภายหลัง (Post Marketing)
- ผู้เกี่ยวข้องสามารถปฏิบัติได้
- ยึดผลประโยชน์ของผู้บริโภคเป็นหลัก กำหนดมาตรการคุ้มครองผู้บริโภค (เกณฑ์/บทลงโทษ)
สิ่งที่คณะกรรมการควรทราบ
- ประเด็นการกำหนดความรับผิดหากเกิดความเสียหาย (Liability) – การรับรองฮาลาลในทางกฎหมาย หมายถึง ความรับผิดเปลี่ยนมือจาก ผู้ผลิตมายังกรรมการอิสลาม ในทางศาสนาหมายถึงการเป็นกอฎี
- พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ. … (Product Liability Act) หรือกฎหมายพีแอล หากประกาศใช้ความรับผิดชอบส่วนหนึ่งจะอยู่ที่คณะกรรมการอิสลาม
แก้ปัญหาโดยเพิ่มประสิทธิภาพ
กระบวนการตรวจรับรองฮาลาล กอฎี : ผู้ที่ผ่านการเรียนรู้ในวิทยาการ ด้านอิสลามศึกษา ทำหน้าที่เป็นผู้ตัดสินให้คุณหรือให้โทษแก่ผู้อื่นโดยยึดมั่นในหลักกฎหมายอิสลาม ไม่ยึดในความรู้สึกหรือความคิดของตนเองเป็นสำคัญ i-cias.com/e.o/qadi.htm
เรียนรู้และทำความเข้าใจผู้บริโภค
- สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมถึงคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ
- สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย
- สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ
- สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา
หน้าที่ของผู้บริโภคยุคใหม่
- เรียนรู้สิทธิของตนเองในฐานะพลเมืองไทย
- เรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการ
- เก็บรายละเอียดของการซื้อสินค้าและใช้บริการ
- แยก “ความต้องการ” และ “ความจำเป็น”
- บริโภคอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
- ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะพลเมืองดี
- ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริโภคในอนาคตจะเต็มไปด้วยคุณภาพ เราต้องสร้างความมั่นใจให้กับเขาให้ได้”
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับฮาลาล
- ฮาลาลคืออาหาร
- อาหารฮาลาลคืออาหารสำหรับมุสลิม
- อาหารมุสลิมคืออาหารอาหรับ/อินเดีย
- กล่าวถึงมุสลิมนึกถึงอาหรับ
- ตลาดอาหารฮาลาลคือตลาดโลกมุสลิม
ประชากรมุสลิมโลก
ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด
นับถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2549 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลและห้องปฏิบัติการเครือข่ายทำการตรวจผลิตภัณฑ์อาหารที่วางจำหน่ายในท้องตลาดไปแล้วกว่า 2,000 ชนิด 5,000 การวิเคราะห์ ทั้งนี้ไม่นับรวมตัวอย่างอาหารและวัตถุดิบที่ส่งมาจากองค์กรคณะกรรมการอิสลามที่มีมากกว่า 500 ตัวอย่าง
อบรมผู้บริโภคและผู้ประกอบการ
นับตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2546 ถึงเดือนเมษายน พ.ศ.2551 ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจัดการอบรมแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบในจังหวัดต่างๆ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล กระบี่ ภูเก็ต รวมถึงในต่างประเทศ เช่น ประเทศอียิปต์ ประเทศมอร็อคโก ประเทศจอร์แดน รวมทั้งสิ้น 21 ครั้ง มีผู้เข้ารับการอบรมกว่า 9,000 คน ซึ่งในกิจกรรมดังกล่าว จะมีการบรรยายให้ความรู้ต่างๆโดยคณาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ มีการสาธิตการตรวจวเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ มีการจัดนิทรรศการและแนะนำโดยเจ้าหน้าที่ของศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล ซึ่งรายละเอียดในการอบรมที่ผ่านมา มีดังต่อไปนี้